บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เตยหอม


ชื่อสมุนไพร : เตยหอม
ชื่อเรียกอื่นๆ เตยหอมใหญ่, เตยหอมเล็ก (ภาคกลาง), ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส),ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี, ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ), หวานข้าวไหม้ (เหนือ), ปาแนะออริง (ใต้), ปาแนก๊อจี (ไทยมุสลิม), ปานหนัน (นราธิวาส-ปัตตานี) และ พั้งลั้ง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อสามัญ : Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi, Pandan Leaves
วงศ์ : PANDANACEAE



th3

เตยหอมเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันดี เนื่องมาจากเตยหอมมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างช้านาน โดยมากนิยมนำเอาเตยหอมมาใช้ปรุงแต่งรสชาติและสีของอาหารไทย ด้วยกลิ่นหอมเย็นที่เป็นเอกลักษณ์ สีสันที่น่ารับประทาน รสชาติที่อร่อย คุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย และสรรพคุณที่ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และช่วยขับปัสสาวะ จึงทำให้เตยหอมเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมาก นอกเหนือจากนั้นเตยหอมยังสามารถใช้เป็นไม้ประดับ หรืออาจใช้ส่วนใบเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับห่อหุ้มอาหารทั้งคาวหวานได้ด้วย

เตยหอมจัดเป็นไม้น้ำเนื่องจากเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นหรือมีน้ำขัง ต้องการน้ำในการเจริญเติบโตมาก ชอบแสงแดดรำไรแต่ก็สามารถทนต่อแสงแดดจัดได้ และขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการปักชำ

 th2

ลักษณะสมุนไพร :

เตยหอมเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกอ มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เตยหอมเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีสีเขียวลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ใบค่อนข้างแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน เกลี้ยง เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอดโดยใบจะเรียงสลับเวียนบิดเป็นเกลียวจนถึงยอด และที่สำคัญคือมีกลิ่นหอมมันที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวเกิดจากน้ำมันหอมระเหย ออกรากตามข้อของลำต้น เมื่อต้นโตจะใช้เป็นรากค้ำยันพยุงลำต้นไว้ ดอกออกเป็นช่อแบบสแปดิก (spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้นซึ่งกันและกัน ดอกเตยหอมไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ผลมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล
เตยหอมประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหยที่มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalylacetate) เบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) ไลนาโลออท (Linalool) และเจอรานิออล (Geraniol) โดยสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมคือคูมาริน (Coumarin) และเอทิลวานิลลิน (Ethyl vanillin) ซึ่งกลิ่นของเตยหอมเป็นกลิ่นที่คล้ายคลึงกับเดียวกันกลิ่นในข้าวหอมมะลิหรือดอกชมนาด

เตยหอมเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะตามริมคูน้ำหรือคันสวนคันนาบริเวณที่มีน้ำขัง ควรรดน้ำทุกวัน เจริญเติบโตได้ดีในแสงแดดรำไร แต่ก็สามารถทนต่อแสงแดดจัดได้ การขยายพันธุ์เตยหอมทำได้โดยการปักชำลำต้นหรือกิ่งแขนง

 th1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบสด, ราก และ ลำต้น

สรรพคุณทางยา :

  1. ใบสด รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคหืด บำรุงหัวใจ และลดอาการกระหายน้ำ
  2. ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยน้ำเบาพิการ และใช้รักษาเบาหวาน
  3. ลำต้น ใช้รักษาเบาหวานและช่วยปัสสาวะ

th5

วิธีการใช้ :

  1. ยาขับปัสสาวะ ใช้ต้น 1 ต้น หรือรากประมาณครึ่งกำมือ นำมาหั่นบางๆ ตากจนแห้งหรือคั่วไฟอ่อนๆ แล้วต้มกับน้ำดื่ม
  2. ยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดจำนวนไม่จำกัดมาผสมในอาหาร หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
  3. ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน ใช้ราก 1 กำมือหรือส่วนลำต้น หั่นบางๆ ตากจนแห้งหรือคั่วไฟอ่อนๆ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
  4. โรคหัด โรคผิวหนัง ใช้ใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณผิวหนังที่เป็นโรค

 th4

ถิ่นกำเนิด :
เตยหอมมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.