บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

อ้อยช้าง


ชื่อสมุนไพร : อ้อยช้าง
ชื่อเรียกอื่นๆ : หวีด (เชียงใหม่), ช้าเกาะ, ช้างโน้ม (ตราด), กอกกั่น, กอกกั๋น (อุบลราชธานี), ตะคร้ำ (ราชบุรี), ซาเกะ (สุราษฎร์ธานี), กุ๊ก, กุ้ก (ภาคเหนือ), อ้อยช้าง (ภาคกลาง), เส่งลู่ไค้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ปีเชียง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) และ แม่หยูว้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
ชื่อสามัญ : Wodier Tree
วงศ์ : MALVACEAE
ACH3
อ้อยช้างเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน ชอบความชื้นและแสงแดดแบบเต็มวัน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง ในประเทศพบกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง บางครั้งก็พบได้ตามป่าเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวและฝาด นิยมนำมารับประทานเป็นผัก หรือนำมารับประทานร่วมกับพริกเกลือก็ได้  ส่วนของรากซึ่งเป็นกระเปาะใหญ่เก็บสะสมน้ำ น้ำในรากสามารถนำมาดื่มแก้อาการกระหายน้ำได้ แก่นใช้ปรุงรสยาให้มีรสหวาน



 ACH4

ลักษณะสมุนไพร :
อ้อยช้างเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรงมีความสูงได้ประมาณ 12-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมเขียว เปลือกในเป็นสีชมพู มียางเหนียวใส ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกเป็นช่อตรงปลายกิ่งเรียงเวียนสลับกัน แกนกลางใบปรกอบยาวได้ประมาณ 12-28 เซนติเมตร ส่วนก้านใบประกอบยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร เป็นรูปคล้ายทรงกระบอก มีใบย่อยประมาณ 3-7 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบย่อยจะค่อนข้างสั้น มักมีสันปีกแคบๆ ด้านใดด้านหนึ่ง ดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลดแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่งก่อนผลิใบ ช่อดอกห้อยลงมาจากกิ่งที่ไม่มีใบ กลีบดอกหอม ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอมเหลือง ขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร ช่อดอกยาวประมาณ 12-30 เซนติเมตร ก้านช่อมีขนเล็กๆ ทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ผลผนังชั้นในแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปถั่ว รูปไตแบน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมมุมฉากถึงรูปกลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีม่วงแดง ผลแก่เป็นสีม่วงอมแดง

ACH5

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกต้น, ใบ, แก่น และ ราก
สรรพคุณทางยา :

  1. เปลือกต้น  ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาธาตุพิการและอ่อนเพลีย รักษาอาการตาเจ็บ ตาอักเสบรุนแรง รักษาอาการปวดฟัน แก้เสมหะเหนียว ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ช่วยสมานแผล และเป็นยาห้ามเลือด ยาแก้ฝีเมื่อเป็นฝี และรักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน ยาแก้ผิวหนังพุพอง เน่าเปื่อย ช่วยรักษาโรคเก๊าท์ ยาแก้ปวด แก้รอยฟกช้ำ อาการแพลง
  2. ใบ ช่วยแก้อาการปวดประสาท ยาแก้ไอเป็นเลือดเช่นกัน ยารักษาโรคเท้าช้าง ยารักษาอาการอักเสบ อาการแพลง และรอยฟกช้ำ
  3. แก่น ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ เกิดความชุ่มชื่นในอก
  4. ราก ยาแก้ท้องเสีย

 ACH2

วิธีการใช้ :                                     

  1. ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาธาตุพิการและอ่อนเพลีย รักษาอาการตาเจ็บ ตาอักเสบรุนแรง รักษาอาการปวดฟัน แก้เสมหะเหนียว ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ช่วยสมานแผล และเป็นยาห้ามเลือด ยาแก้ฝีเมื่อเป็นฝี และรักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน ยาแก้ผิวหนังพุพอง เน่าเปื่อย ช่วยรักษาโรคเก๊าท์ ยาแก้ปวด แก้รอยฟกช้ำ อาการแพลง นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  2. ช่วยแก้อาการปวดประสาท ยาแก้ไอเป็นเลือดเช่นกัน ยารักษาโรคเท้าช้าง ยารักษาอาการอักเสบ อาการแพลง และรอยฟกช้ำ นำใบมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  3. ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ เกิดความชุ่มชื่นในอก นำแก่นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  4. ยาแก้ท้องเสีย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 ACH6

ถิ่นกำเนิด :
อ้อยช้างเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายูและชวา

 





.