บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

อัคคีทวาร


ชื่อสมุนไพร : อัคคีทวาร
ชื่อเรียกอื่นๆ : หลัวสามเกียน (เชียงใหม่), แข้งม้า (เชียงราย), พรายสะเลียง, สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา), หมากดูกแฮ้ง (สกลนคร), อัคคี (สุราษฎร์ธานี), ตั่งต่อ, ปอสามเกี๋ยน, สามสุม (ภาคเหนือ), ตรีชวา, อัคคี (ภาคกลาง), พายสะเมา (วาริชภูมิ), ควีโดเยาะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ผักห้าส้วย (ไทใหญ่), ลำกร้อล (ลั้วะ), ซานไถหงฮวา, ซานตุ้ยเจี่ย (จีนกลาง), ชะรักป่า, แคว้งค่า, ผ้าห้ายห่อคำ, มักก้านต่อ, มักแค้งข่า, หมอกนางต๊ะ, หูแวง, ฮังตอ และ ผักระบาท (ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B.Clarke
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : VERBENACEAE



AKT2

อัคคีทวารเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 – 1,000 เมตร นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีด้วย นอกจากนี้จะใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆ ของคนแล้ว อัคคีทวารยังใช้ได้ดีกับสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารได้อีกด้วย โดยนำผลสุกหรือดิบของอัคคีทวารมากรอกให้สัตว์เลี้ยงกิน คนอีสานชอบนำมาทำอาหารโดยจะนำช่อดอกของต้นอัคคีทวารมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุปหน่อไม้ แกงหน่อไม้ หมกหน่อไม้

 AKT3

ลักษณะสมุนไพร :
อัคคีทวารเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันหรือเรียงซ้อนกันเป็นวง ใบแตกตามข้อ ไม่มีก้านใบ ในแต่ละข้อส่วนมากจะออกเป็น 3 ใบวงเป็นรอบกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบสอบหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีม่วงอ่อนเข้ม สีม่วงอ่อนอมสีฟ้า หรือสีชมพูอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปทรงกระบอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ดอกมีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม มีกลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปไข่กลับ 2 ใบหุ้มอยู่ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน ผลเป็นรูปค่อนข้างกลมหรือกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดอัคคีทวารเป็นรูปกลมรี

 AKT4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ และ ทั้งต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ช่วยทำให้เสมหะแห้ง ช่วยในระบบทางเดินหายใจ แก้หอบหืด อาการไอ แก้ไข้ แพ้อากาศ ริดสีดวงจมูกหรืออาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก แก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งท้อง
  2. ใบ แก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง แก้หลอดลมอักเสบ แก้อาการเจ็บหน้าอก แก้อาการจุกเสียด จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องท้องอืด แก้อาการเสียดท้อง
  3. ทั้งต้น ลดความดันโลหิต ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้ป่า ช่วยแก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ปวดท้อง

 AKT5

วิธีการใช้ :

  1. ช่วยทำให้เสมหะแห้ง ช่วยในระบบทางเดินหายใจ แก้หอบหืด อาการไอ แก้ไข้ แพ้อากาศ ริดสีดวงจมูกหรืออาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก แก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งท้อง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง แก้หลอดลมอักเสบ แก้อาการเจ็บหน้าอก แก้อาการจุกเสียด จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องท้องอืด แก้อาการเสียดท้อง นำใบมาตำพอกแผล นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ลดความดันโลหิต ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้ป่า ช่วยแก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ปวดท้อง ฝานทั้งต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากให้แห้ง ใช้ต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
อัคคีทวารเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย

 





.