บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยา

หญ้าถอดปล้อง


ชื่อสมุนไพร : หญ้าถอดปล้อง
ชื่อเรียกอื่นๆ : หญ้าเงือก, หญ้าหางม้า, หญ้าหูหนวก (เหนือ), หญ้าสองปล้อง, เครือเซาะปอยวา, แยปอ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), อื่อซอปวยว่อ, อื่อซอปอยวา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หญ้าถอดป้อง(คนเมือง), หรึยซอพอดัว (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) และ หญ้าปล้อง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Equisetum debile Roxb.ex Vaucher
ชื่อสามัญ : Horsetail
วงศ์ : EQUISETACEAE



 YTP2

หญ้าถอดปล้องเป็นกลุ่มเฟิร์นโบราณ จัดเป็นสมุนไพรที่มีซิลิกาในปริมาณมากและมากกว่าสมุนไพรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และมันยังส่งเสริมการดูดซึมของแคลเซียม ใช้ในการรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เช่น โรคไขข้อ และกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อและสมานแผล สามารถบริโภคในรูปแบบของชา หรือใช้เป็นยาพอกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อย เพราะเป็นแหล่งสะสมซิลิกาและแคลเซียมที่ดี อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเกาต์ นอกจากนี้ยังเสริมสร้างในการเจริญและสร้างความแข็งแรงของผม เหมาะกับผู้ที่ผมร่วงหรือต้องการจะปลูกผม เพราะเนื่องจากมี Amino Acid และ Phytosterols ซึ่งจะสร้างความแข็งแรงให้กับรูขุมขน นอกจากนี้ยังเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหนังศีรษะ กระตุ้นรูขุมขน และลดการผลิตไขมันหรือน้ำมันในหนังศีรษะ ซึ่งส่งผลให้ผมมัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ

 YTP4

ลักษณะสมุนไพร :
หญ้าถอดปล้องเป็นพืชชั้นต่ำที่มีท่อลำเลียง ไม่มีดอก ลำต้นมีลักษณะกลมและมีสีเขียว ภายในกลวง มีรอยแตกขนานตามยาวของลำต้น รูปทรงกระบอก สูงถึง 1 เมตร ขนาดผ่านศูนย์กลาง 4-7 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านน้อย มีข้อปล้องชัดเจน ใบเป็นกาบเล็กๆรูปฟันเลื่อย ลักษณะเยื่อบางๆ รูปสามเหลี่ยมรอบข้อ ยาว 8 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันรอบข้อ สีน้ำตาลหรือขาว ซึ่งหลุดร่วงง่าย ดอกออกเป็นช่อกระจุกยาวที่ปลายยอด แต่ละข้อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กรอบแกนช่อดอก กลีบดอกเป็นรูปถ้วย ผลลักษณะเป็นโคนเกิดเดี่ยวๆ ที่ปลายกิ่ง รูปกลมรีป้อมๆ ขนาดกว้าง 0.3-0.6 เซนติเมตร และขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวนอกมีตาเป็นรูปหลายเหลี่ยมชัดเจน ภายในมีสปอร์เพื่อการขยายพันธุ์ เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล

 YTP1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ทั้งต้น ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงไต ขับระดูขาว ตำพอก รักษาบาดแผล แก้ปวดตามข้อ แก้ปวดกระดูกหักหรือเดาะ แก้อาการปวดหลังปวดเอว แก้โรคบิด และช่วยเจริญอาหาร ฆ่าเชื้อ สมานแผล รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกาต์ สร้างความแข็งแรงของผม เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหนังศีรษะ กระตุ้นรูขุมขน ลดการผลิตไขมันหรือน้ำมันในหนังศีรษะ

 YTP5

วิธีการใช้ :

  1. ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงไต ขับระดูขาว ตำพอก รักษาบาดแผล แก้ปวดตามข้อ แก้ปวดกระดูกหักหรือเดาะ แก้อาการปวดหลังปวดเอว แก้โรคบิด และช่วยเจริญอาหาร ฆ่าเชื้อ สมานแผล รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกาต์ สร้างความแข็งแรงของผม เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหนังศีรษะ กระตุ้นรูขุมขน ลดการผลิตไขมันหรือน้ำมันในหนังศีรษะ นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือนำทั้งต้นตากแห้งแล้วใช้เข้ายารักษานิ่วร่วมกับกะซิเพเปร แก้อาการปวดท้องปัสสาวะไม่ออก หรือ นำทั้งต้นนำมาทุบแล้วใช้ถูรักษาแผล

 YTP3

ถิ่นกำเนิด :
หญ้าถอดปล้องเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ อินโดจีน ไต้หวัน ไทย มาเลเซีย และโพลีนีเซีย

 





.