บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

สะเดาอินเดีย


ชื่อสมุนไพร : สะเดาอินเดีย
ชื่อเรียกอื่นๆ : ควินิน, ควินนิน และ คีนิน (ทั่วไป, ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. indica.
ชื่อสามัญ : Indian Margosa Tree, Holy Tree, Margosa, Pride of China, Nim และ Neem Tree
วงศ์ : MELIACEAE



SDID2

สะเดาอินเดียเป็นพืชที่ในประเทศอินเดียมีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของต้นสะเดาอินเดียกันอย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในทางยา ทำสบู่ ทำวัสดุก่อสร้าง เยื่อกระดาษ ทำกาว ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ส่วนกิ่งเล็กๆ ก็นำมาทุบทำเป็นแปรงสีฟัน (ทำให้ปากไม่มีกลิ่นเหม็น) ฯลฯ ส่วนใบนำมาสอดแทรกไว้ในหนังสือ ในตู้เก็บถ้วยชาม เพื่อช่วยไล่แมลง โดยใบและเปลือกต้นจะมีสารจำพวก limonoids ได้แก่ nimbolide และ gedunin ส่วนในผลสะเดาอินเดียจะมีสารชนิดหนึ่งที่มีรสขม ซึ่งสารนี้มีชื่อว่า Bakayanin และเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าแมลง  เช่น เพลี้ยชนิดต่างๆ แมลงศัตรูในบุ้งฉาง มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวเปลือก หนอนใยผัก หนอนชอนใบ ฯลฯ น้ำมันสะเดาที่สกัดได้ตามเมล็ดสามารถนำมาใช้ตามตะเกียงและเครื่องสำอางได้ ส่วนกากที่เหลือจากการสกัดเอาน้ำมันออกจากเมล็ดสะเดาอินเดีย หรือที่เรียกว่า “Neem cake” ก็ยังสามารถนำมาใช้เป็นตัวชะลอการสลายตัวของปุ๋ยยูเรียได้อีกด้วย โดยปกติแล้วปุ๋ยยูเรียที่ใส่ลงไปในดินจะถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียภายใน 24 ชั่วโมง จึงทำให้รากของพืชไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไว้ได้ทัน ทำให้เกิดการสูญเปล่า แต่ถ้าใส่ Neem cake ลงไป ปฏิกิริยาของปุ๋ยก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปอย่างๆ ช้า ทำให้รากพืชสามารถดูดเก็บปุ๋ยไว้ได้ทัน

 SDID3

ลักษณะสมุนไพร :
สะเดาอินเดียเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 8-12 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือดยอนของลำต้นจำนวนมาก บางต้นก็มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม เปลือกต้นลำเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ลักษณะและการเรียงตัวจะเหมือนกับสะเดาบ้าน แต่ใบย่อยจะโค้งเป็นรูปเคียว โดยใบจะออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ก้านหนึ่งจะมีใบอยู่ประมาณ 5-9 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา ดอกออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น โดยจะออกตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกสีเป็นขาวและมีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมน โคนเรียว ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมล็ดเดี่ยว

 SDID4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกต้น, ราก, ใบ, ผล และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. เปลือกต้น เจริญอาหาร แก้ไข้และไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย ไข้ประจำฤดู
  2. ราก แก้ไข้ ฝาดสมาน
  3. ใบ รักษาฝีหนอง ชะล้างแผล
  4. ผล ยาระบายท้อง ยาถ่ายพยาธิ
  5. เมล็ด แก้โรคผิวหนัง

 SDID1

วิธีการใช้ :

  1. เจริญอาหาร แก้ไข้และไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย ไข้ประจำฤดู นำเปลือกต้นสด 1 ฝ่ามือ หรือใบสด 2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้วหลังอาหารเช้าและเย็น วันละ 2 ครั้ง จนกว่าอาการไข้จะหาย
  2. แก้ไข้ ฝาดสมาน รากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. รักษาฝีหนอง ชะล้างแผล นำใบมาต้มกับน้ำ ชะล้างแผล หรือตำพอกฝีหนอง
  4. ยาระบายท้อง ยาถ่ายพยาธิ นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้โรคผิวหนัง สกัดนำมันจากเมล็ด มาทาผิวหนัง

ถิ่นกำเนิด :
สะเดาอินเดียเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

 





.