บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

รางแดง


ชื่อสมุนไพร : รางแดง
ชื่อเรียกอื่นๆ : ก้องแกบ, เขาแกลบ, เห่าดำ, ฮองหนัง, ฮ่องหนัง (เลย), ปลอกแกลบ (บุรีรัมย์), เถามวกเหล็ก, เถาวัลย์เหล็ก (สระบุรี), กะเลียงแดง (ชลบุรี-ศรีราชา), แสงอาทิตย์, แสงพระอาทิตย์, ก้องแกบ, ก้องแกบเครือ, ก้องแกบแดง, เครือก้องแกบ, หนามหัน (ภาคเหนือ) และลำโพงดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ventilago denticulata Willd.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : RHAMNACEAE



RD5

รางแดง เป็นพรรณไม้ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบเถา กิ่งชำ กิ่งตอน และใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามป่าโปร่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางจังหวัดสระบุรี ส่วนในกรุงเทพฯ มีการปลูกกันบ้างตามบ้าน  เมื่อใบมาผิงไฟเพื่อทำยาจะมีกลิ่นคล้ายกับแกลบข้าว  และใบนำมาคั่วแล้วใช้ชงกับน้ำดื่มเหมือนชา ยอดอ่อน ใบ และเปลือกต้น ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำน้ำยาสระผมสูตรแก้รังแค ซึ่งจะประกอบไปด้วยสมุนไพรอื่นๆ อีก เช่น ส้มป่อยหรือมะนาวหรือมะกรูด ใบหมี่เหม็น และน้ำด่าง (น้ำขี้เถ้า) นำมาต้มรวมกันแล้วนำน้ำที่ได้มาสระผมจะช่วยแก้รังแคได้ สารสกัดหยาบจากใบรางแดงด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 95 พบว่าสารสกัดที่ได้มีลักษณะหนืดข้นมีสีเขียวเข้มถึงดำ และมีกลิ่นหอม เมื่อประมาณปี พ.ศ.2548 มีรายงานการศึกษาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ phosphodiesterase ด้วยการคัดเลือกสมุนไพรที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นยาบำรุงกำหนัดและบำรุงสมองรวม 19 ชนิด และพบว่ามีสมุนไพรที่มีฤทธิ์ดังกล่าวอยู่ด้วยกัน 7 ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ รางแดงหรือเครือเถาแกบ

 RD1

ลักษณะสมุนไพร :
รางแดงเป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่ม มักเลื้อยตามต้นไม้และกิ่งไม้ เถาเป็นสีเทา ผิวของลำต้นหรือเถาเป็นรอยแตกระแหงเป็นร่องสีแดงสลับ ทำให้เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบคล้ายกับใบเล็บมือนางหรือกะดังงาไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ส่วนก้านใบสั้น ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเขียวแกมเหลืองหรือสีเขียวอมขาว ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลมีรูปร่างกลม ด้านปลายผลแผ่เป็นครีบคล้ายปีกแข็ง ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

 RD2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เถา, ใบ และ ราก
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาขับเสมหะ แก้ผิดสาบ
  2. ใบ ทำให้ชุ่มคอ
  3. เถา ยาอายุวัฒนะ ยาช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงเส้นสาย แก้เส้น แก้อาการปวดเมื่อยที่ก้นกบ

 RD3

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาอายุวัฒนะ นำเถารางแดง 1 ขีด เหล้า 200 มิลลิเมตร และน้ำผึ้ง 200 มิลลิเมตร นำมาดองไว้ 15 วัน ใช้กินครั้งละ 30 มิลลิเมตร วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  2. ยาช่วยทำให้เจริญอาหาร นำเถารางแดง, ต้นกำแพงเจ็ดชั้น, ต้นขมิ้นเครือ, ต้นเถาวัลย์เปรียง และต้นนมควาย นำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยให้เจริญอาหาร
  3. ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงเส้นสาย แก้เส้น แก้อาการปวดเมื่อยที่ก้นกบ นำเถาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  4. ยาขับเสมหะ นำรากต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  5. แก้ผิดสาบ นำรากรางแดง, รากชะอม, รากเล็บเหยี่ยว, รากสามสิบ, แก่นจันทน์ขาว, แก่นจันทน์แดง, และเขากวาง นำมาฝนใส่ข้าวจ้าวกินแก้ผิดสาบ
  6. ทำให้ชุ่มคอ นำใบต้มกับน้ำดื่มรับประทาน

 RD4

ถิ่นกำเนิด :
รางแดงเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.