บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

มะรุม


4



ชื่อสมุนไพร : มะรุม
ชื่อเรียกอื่นๆ : บ่าค้อนก้อม, มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), มะรุม (ภาคกลาง), ผักอีฮุม (ภาคอีสาน) และ ผักอีฮืม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam
ชื่อสามัญ : Horse Radish Tree
วงศ์ : Moringaceae

2
มะรุมผักสมุนไพรไทยที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ทุกๆส่วนในต้นมะรุมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ด้วยประโยชน์ต่างๆมะรุมจึงนับเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่ถูกนำมาใช้มากในวงศ์การแพทย์ เพราะมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อมะเร็ง ลดไขมันและคอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันตับ ชะลอความแก่ และอีกหลากหลายสรรพคุณที่หาไม่ได้ในพืชชนิดอื่น

1
ลักษณะของสมุนไพร :
มะรุมจัดเป็นไม้ยืนต้นทรงโปร่ง มีความสูงประมาณ 3-4 เมตร ลักษณะใบคล้ายขนนกโดยจะมีความแตกต่างของสีระหว่างผิวใบด้านล่างและด้านบนโดยสีใบด้านบนจะมีความเข้มกว่าด้านล่าง ดอกมะรุมเป็นดอกสีขาว 5 กลีบออกเป็นช่อ จุดเด่นสำคัญของต้นมะรุมก็คือฝักสีเขียวทรงเรียวยาว 20-50 เซนติเมตร หากฟักแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในส่วนของเมล็ดภายในฝักมีลักษณะทรงกลมสีน้ำตาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดแก่นิยมนำมาบีบสกัดน้ำมันออกมาเพื่อบริโภค
มะรุมจัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ต้องการน้ำหรือความชื้นในปริมาณมาก การขยายพันธุ์จะใช้วิธีการเพาะเมล็ดหรือปักชำ

3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ดอก, ฝัก, เมล็ด

สรรพคุณทางยา :
มะรุมเป็นสมุนไพรที่เจริญเติบโตเร็ว รับประทานได้หลายส่วนทั้งยอด ดอก และฝักเขียว ทนภัยแล้งได้ดี การนำมะรุมมาใช้เป็นยาสำหรับรักษาโรคทั่วไปมีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศอินเดียใช้มะรุมรักษาโรคต่างๆ เช่น โลหิตจาง ความกังวล หอบหืด ปวดหัว เลือดไหลเวียนผิดปกติ ความดันเลือด หลอดลมอักเสบ โรคหวัด แน่นหน้าอก ปวดข้อต่อ โรคสะเก็ดเงิน โรคทางเดินหายใจ และวัณโรค เป็นต้น

5

สารอาหารและวิตามินต่างๆในมะรุมมีส่วนช่วยในการป้องกันโรค บำรุงสมองและระบบประสาท เป็นใยอาหาร และให้พลังงานแก่ร่างกาย มะรุมจึงจัดเป็นพืชสมุนไพรที่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเอาส่วนต่างๆของมะรุมมาใช้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้

  •   ใบ ใบสามารถรับประทานได้ 2 รูปแบบ คือการรับประทานแบบสดและแบบผงที่อาศัยเทคโนโลยีในการทำแห้งเพื่อให้เก็บรักษาไว้ได้นาน ในใบมะรุมจัดเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆมากมาย จากการวิเคราะห์ทางโภชนาการใบมะรุมอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ ได้แก่ วิตามินเอ, วิตามินซี, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก และโพแทสเซียม เป็นต้น ซึ่งมีมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆอย่างเด่นชัดและยังมีกรดอะมิโนที่สำคัญหลายตัวเป็นองค์ประกอบด้วย และเนื่องจากใบมะรุมเป็นแหล่งของวิตามินซีการรับประทานมะรุมจึงมีส่วนช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ดี อีกทั้งยังมีฤทธิ์แก้การอักเสบและเป็นยาระบายอ่อนๆด้วย
  •   ดอก ดอกมะรุมมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย บรรเทาอาการหวัดและป้องกันโรคมะเร็งได้ อีกทั้งยังช่วยบำรุงร่างกายและช่วยขับปัสสาวะ หากนำดอกมะรุมมาชงกับชาเพื่อดื่มก่อนนอนจะทำให้หลับสบายมากขึ้น
  •   ฝัก ฝักมะรุมเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่อุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) วิตามินซี นอกจากสารอาหารที่มีปริมาณสูงแล้วการรับประทานฝักมะรุมยังมีส่วนช่วยในการแก้ไข้หรือลดไข้ได้
  •   เมล็ด เมล็ดมะรุมสามารถนำมาสกัดน้ำมันได้ โดยน้ำมันที่สกัดได้ถือเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพเนื่องจากมีองค์ประกอบที่เทียบเคียงกับน้ำมันมะกอก ส่วนเมล็ดที่สกัดน้ำมันออกแล้วสามารถนำมารับประทานเพื่อช่วยรักษาโรคปวดตามข้อและรักษาโรคผิวหนังอันเกิดจากเชื้อราได้
  •   เนื้อใน เนื้อในเมล็ดมะรุมสามารถบรรเทาอาการไอได้ และการรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

6

ถิ่นกำเนิดของมะรุม :
มะรุมถือกำเนิดจากประเทศอินเดียแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย

 





.