บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยา

บุก


ชื่อสมุนไพร : บุก
ชื่อเรียกอื่นๆ : บุกคุงคก (ชลบุรี), เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน), มันซูรัน (ภาคดลาง), หัวบุก (ปัตตานี), บุกคางคก  (ภาคกลาง, เหนือ), บุกหนาม และ บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus campanulatus  Bl.ex Dence.(A.paeoniifolius (Dennst.) Nicolson
ชื่อสามัญ : Elephant yam, Stanley’s water-tub
วงศ์ : ARACEAE



B3

บุก เป็นพืชป่าล้มลุกที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานมาแต่ช้านาน ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวอย่างแกงส้ม ผักจิ้มน้ำพริกหรืออาหารหวานอย่างแกงบวช บุกเป็นพืชที่พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ โดยมักจะขึ้นอยู่ตามชายป่า เจริญเติบโตได้ดีและให้หัวขนาดใหญ่หากเพาะปลูกในดินร่วนซุยและเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง บุกเป็นพืชหัวที่มีสรรพคุณที่โดดเด่นในการลดความอ้วน และลดปริมาณน้ำตาลในเลือดเนื่องจากมีกลูโคแมนแนนเป็นส่วนประกอบ จึงเหมาะเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการแก้เสมหะ ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยกัดฝ้า กัดหนองดี แก้โรคตับ แก้โรคท้องมาน และแก้ไอ

 1886R-12458

ลักษณะสมุนไพร:
บุกเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน สูงประมาณ 1 – 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียวเข้ม อวบ และมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว หัวใต้ดินมีขนาดใหญ่ ลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป ผิวด้านนอกขรุขระและมีสีน้ำตาล เนื้อภายในมีสีชมพู เหลืองอมชมพู หรือสีขาวเหลือง หัวสดจะมีเมือกลื่น มีรสเบื่อเมา และคันใบเป็นใบเดี่ยว ออกที่ยอด สีเขียวเข้ม กลุ่มใบมีก้านตรงจากกลางของหัว เมื่อโผล่จากดินแล้วแผ่กางออก 3 ทางเป็นแผ่นกว้างแบบคล้ายร่มกาง ก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 7 ใบ ลักษณะใบยาว ปลายใบแหลม ขนาดประมาฯ 12 – 15 ซม. ดอกมีสีเหลือง กลิ่นเหม็น ลักษณะดอกคล้ายดอกหน้าวัว ดอกจะประกอบไปด้วยปลี และจานรองดอก โดยจานรองดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 – 15 ซม. ภายในนอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน แต่อยู่คนละชั้น เมื่อดอกบานจานรองดอกจะร่วงไป เหลืออยู่แต่ปลีดอก ซึ่งจะกลายเป็นผล ผลอ่อนของบุกมีสีขาวอมเหลือง จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นเขียวเข้ม และเมื่อแก่จะมีสีแดงหรือแดงส้ม เมล็ดภายในผลมีลักษณะเป็นรูปทรงอูมยาวหรือกลม   บุกเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่ไม่มีน้ำขังและมีอินทรียวัตถุสูง

 B5

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เนื้อจากลำต้นใต้ดิน และ หัว
สรรพคุณทางยา :

  1. หัว มีรสเบื่อเมาและคัน ช่วยกัดเสมหะ แก้เลือดจับเป็นก้อน ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยกัดฝ้าและกัดหนองดี เป็นอาหารดูดสารพิษ แก้โรคตับ แก้โรคท้องมาน แก้ไอและที่สำคัญคือในหัวบุกมีสารสำคัญได้แก่กลูโคแมนแนนที่ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ จึงเหมาะเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง

B2

วิธีการใช้ :

  1. รักษาบาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดีใช้หัวหุงเป็นน้ำมัน ใส่บาดแผล
  2. ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดไขมันในเลือดใช้ผงบุก 1 กรัม ชงน้ำดื่มรับประทาน โดยรับประทานก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้ว รับประทานวันละ 3 มื้อ

ข้อควรระวัง เนื่องจากบุกมีหลายชนิดหลายพันธุ์ บางชนิดอาจมีรสขมและมีพิษ และพบว่าทุกชนิดมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) ซึ่งพบได้ที่ก้านใบและหัว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคันเมื่อนำมารับประทาน ดังนั้นก่อนนำมาปรุงอาหารต้องต้มให้สุกเสียก่อน

ถิ่นกำเนิด :
บุกมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และทางใต้ ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทย อินโดจีน และฟิลิปปินส์

 





.