บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ทองกวาว


ชื่อสมุนไพร : ทองกวาว
ชื่อเรียกอื่นๆ : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ, ทองพรหมชาติ, ทองต้น (ภาคกลาง) และ ดอกจาน (อิสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อสามัญ : Flame of the Forest, Bastard Teak
วงศ์ :  Leguminosae-Papilionoideae



 tg2

ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีดอกที่สวยงาม โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับประจำบ้านเพื่อความสวยงามและความเชื่อโบราณที่ว่าปลูกแล้วจะทำให้ร่ำรวยเงินทอง นอกจากความสวยงามแล้ว ทองกวาวยังสามารถนำมาใช้รักษาโรค ถอนพิษไข้ แก้อาการท้องร่วง ขับพยาธิ และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายหรืออวัยวะต่างๆได้
ทองกวาวเป็นไม้ผลัดใบ ถือเป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตค่อนข้างช้าโตช้า แต่มีความทนทานต่อความแห้งแล้งและต้านทานต่อโรคสูง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด

 tg3

tg4

ลักษณะสมุนไพร :
ทองกวาวไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกลำต้นหนา ไม้เนื้อแข็ง ด้านนอกเป็นสีน้ำตาลถึงสีเทาคล้ำค่อน ผิวเปลือกเป็นตุ่มหรือปม เปลือกในมีสีแดง มีน้ำยางอยู่ภายใน ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 3 ใบ ลักษณะใบกลม โคนใบมนสอบ ขนาดใบกว้าง 2 – 5 นิ้ว ยาวประมาณ 4 – 8 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ท้องใบมีขนสั้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม.เรียงเวียนสลับแบบตรงข้าม ดอกออกเป็นช่อ ตามกิ่งก้านและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ สีแดงหรือสีเหลือง ดอกเป็นช่อสั้น ก้านช่อดอกมีขนสีน้ำตาล กลีบรองกลีบดอกแต่ละกลีบเชื่อมกันเป็นรูปบาตรยาว 1.3 ซม. ส่วนบนแยกออกเป็นกลีบสั้น ๆ 5 กลีบ มีขนสีน้ำตาลดำปกคลุมตลอดกลีบ ดอกยาวประมาณ 7 ซม. มี 5 กลีบ กลีบด้านล่างเป็นรูปเรือแยกเป็นอิสระเมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาดกว้างประมาณ 6 ซม. ออกดอกมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ผลมีลักษณะเป็นฝัก แบน โค้งงอเล็กน้อย เปลือกนอกของฝักมีสีเขียว เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน ฝักยาวประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายในตรงปลายฝัก
ทองกวาวนิยมปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณบ้านและสวน เป็นไม้ที่ทนต่อโรคและความแห้งแล้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีที่แสงแดดจัด ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง และขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ดอก, ยาง, ใบ, เมล็ด, ฝัก และ  ราก

tg7

สรรพคุณทางยา :

  1. ดอก ใช้ถอนพิษไข้ ดับกระหายน้ำ แก้ปวด ถอนพิษไข้ ใช้ผสมเป็นยาหยอดตา แก้อาการเจ็บตาหรือโรคตาฝ้าฟาง ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย และแก้พิษฝี
  2. ยาง ใช้แก้อาการท้องร่วง
  3. ใบ แก้สิว แก้อาการปวด ช่วยถอนพิษ แก้ท้องขึ้น ช่วยขับพยาธิ และแก้โรคริดสีดวง
  4. เมล็ด ช้วยขับพยาธิไส้เดือน และแก้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นและแสบร้อน
  5. ฝัก ใช้เป็นยาขับพยาธิ
  6. ราก รักษาโรคประสาท และช่วยบำรุงธาตุ

            การใช้งานมีควรใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 tg6

วิธีการใช้ :

  • รักษาฝีและสิว ตำใบให้ละเอียด พอกบริเวณผิวหนังที่เป็นฝีหรือสิว
  • แก้ผื่นแดงและแสบร้อน บดเมล็ดให้ละเอียดผสมน้ำมะนาว ทาบริเวณผิวหนังที่มีอาการ
  • แก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ต้มดอกกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  • ยาขับพยาธิ ต้มฝักกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือใช้ใบต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มใบกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ทองกวาวมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบประเทศปากีสถาน, อินเดีย, บังคลาเทศ, เนปาล, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

 





.