บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

ตะไคร้


ชื่อสมุนไพร : ตะไคร้
ชื่อเรียกอื่นๆ : จะไคร (ภาคเหนือ), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ขี้ไคร้ (อินดี้-สกา), หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) และตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Doragag Staph
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ :  Poaceae (Gramineae)



TK2

ตะไคร้เป็นพืชตระกูลหญ้า ถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ตะไคร้โดยแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้หางนาค ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางสิงห์ และตะไคร้ต้น ซึ่งทั้ง 6 ชนิดนี้จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกทั่วไปในประเทศไทย ทั้งยังเป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่มีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส สรรพคุณที่สำคัญของตะไคร้ คือเป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยาบำรุงธาตุไฟ แก้อาการเบื่ออาหาร ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยรักษาอาการไข้ บรรเทาอาการหวัดและไอ แก้อาเจียน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคความดันโลหิตสูง และช่วยการขับเหงื่อได้ อีกทั้งน้ำมันหอมระเหยในตะไคร้มีส่วนช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังชั้นดี หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นจะทำให้แก้โรคหนองในได้ คุณประโยชน์ของตะไคร้ในการประกอบอาหาร คือความสามารถในด้านการดับกลิ่นคาวอาหาร นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษในการไล่ยุงและแมลง ซึ่งรับรองจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ว่าสามารถป้องกันยุงกัดได้นานถึง  2  ชั่วโมง

TK1

ลักษณะสมุนไพร :
ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย เจริญเติบโตง่ายโดยออกเป็นกอใหญ่หรือเป็นไม้พุ่มที่ค่อนข้างสูงประมาณ 1 เมตร มีกลิ่นหอม ลักษณะคล้ายกับพืชจำพวก  ขิง  ข่า  ขมิ้น  ที่มีลักษณะรูปทรงกระบอก มีข้อ ปล้องสั้น และมีตา  ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะเป็นแง่ง หรือ เหง้า มีชื่อเรียกว่า ไรโซม (Rhizome) ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว  เจริญออกมาจากตา  ตัวใบมีสีเขียวทั้งยาวและแคบ  ปลายใบเรียวแหลม  มีเส้นใบขนานกันและเส้นกลางใบแข็ง  ตรงขอบใบจะมีขนเล็กๆ สีขาว ก้านใบค่อนข้างยาว บริเวณโคนของก้านใบมีลักษณะเป็นกาบใบโอบหุ้มซ้อนกันแน่น คล้ายกับเป็นลำต้น จึงมักเรียกส่วนนี้ว่าเป็นลำต้นของตะไคร้  ดอกของตะไคร้มีดอกเล็กฝอยจำนวนมาก ลักษณะที่ออกจะเป็นช่อยาวแบบกระจาย  ช่อดอกย่อยๆมีก้านเป็นคู่ ๆ มีใบประดับรองรับในแต่ละคู่

TK3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :ต้น, ราก, ใบ และลำต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ต้น  แก้ผมแตกปลาย แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้หนองใน มีสรรพคุณเป็นยาขับลม และเป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก
  2. ราก บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้เสียดแน่น ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะแสบบริเวณหน้าอก แก้อาการขัดเบา รักษาเกลื้อน
  3. ใบ แก้เบื่ออาหาร แก้ไข้ ลดความดันโลหิตสูง
  4. ทั้งต้น บำรุงธาตุไฟ ใช้แก้หวัด ไอ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย แก้โรคปัสสาวะขัด แก้โรคหืด รักษาโรคนิ่ว แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ประจำเดือนมาผิดปกติ

วิธีการใช้ :

  1. แก้อาการแน่นจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ลำต้นแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 50 กรัม) ทุบจนแหลก ต้มกับน้ำ ดื่มเป็นน้ำตะไคร้ หรือนำไปประกอบเป็นอาหารเช่น ต้มยำ ยำต่างๆ
  2. แก้อาการปวดท้อง ใช้ลำต้นต้นรวมรากจำนวน 5 ต้น นำมาสับเป็นท่อน ต้มกับน้ำ เติมเกลือ โดยต้มจาก 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน นำมารับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ระยะเวลา 3 วัน
  3. แก้อาการขัดเบา สำหรับผู้ที่ปัสสาวะขัด (แต่ไม่มีอาการบวม) ใช้ลำต้นแก่สด ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 50 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น)หรือ ใช้เหง้าตะไคร้แก่ที่ฝังใต้ดิน นำมาฝานเป็นแว่นบางๆ แล้วนำไปคั่วไฟอ่อนๆ พอให้มีสีเหลือง ชงกับน้ำเป็นชาไว้ดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น)
  4. ไล่ยุงและแมลง  ใช้ต้นตะไคร้ล้างให้สะอาด  ทุบให้พอแตก วางไว้ใกล้ๆตัว  กลิ่นจากน้ำมันตะไคร้ทำให้ยุงและแมลงบินหนี
  5. ช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ นำใบมาต้มกับน้ำ รับประทานน้ำต้มใบตะไคร้
  6. แก้หวัด ใช้ลำต้นตะไคร้ จำนวน 1 ต้น นำมาหั่นเป็นแว่นๆ และขิงสดประมาณ 5-6 แว่น เติมน้ำปริมาณ

3-4 แก้ว ต้มจนเดือด แล้วทิ้งไว้ให้อุ่น นำมาดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว หลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น)

 TK6

ถิ่นกำเนิด :
ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ และในประเทศศรีลังกา พม่า อินโดนีเซีย ไทย และอินเดีย

 





.