บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

ชุมเห็ดเทศ




ชื่อสมุนไพร : ชุมเห็ดเทศ
ชื่อเรียกอื่นๆ : ส้มเห็ด,จุมเห็ด,ขี้คาก,ลับมืนหลวง,ลับหมื่นหลวง,ลับมืนหลาว,หญ้าเล็บมือหลวง,หมากกะลิงเทศ,ชุมเห็ด,ชุมเห็ดใหญ่, ตะสีพอ, ตุ๊ยเฮียะเต่า, ฮุยจิวบักทง และตุ้ยเย่โต้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia alata ( L.) Roxb.
ชื่อสามัญ : Acapulo, Candelabra bush, Candle bush, Candlestick senna, Christmas candle,Empress candle plant, Impetigo bush, Ringworm bush, Ringworm senna, Ringwormshru, Seven Golden Candlestick
วงศ์ : Leguminosae

2

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชื่อประหลาดแต่มากไปด้วยสรรพคุณที่มีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกายทั้งในส่วนการใช้เป็นยาระบาย การใช้รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน หรือแม้กระทั่งการช่วยฆ่าเชื้อราจากน้ำกัดเท้า ด้วยสรรพคุณที่มากมายประกอบกับเป็นสมุนไพรที่ปลูกง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษามากจึงส่งผลให้ชุมเห็ดเทศถือเป็นสมุนไพรที่เป็นที่ยอมรับและนิยมปลูกทั่วประเทศไทยอีกทั้งยังถูกบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อยาหลักแห่งชาติของประเทศไทยด้วย

4
ลักษณะสมุนไพร : ชุมเห็ดเทศมีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-3 เมตร กิ่งก้านของต้นจะแผ่ขยายออกด้านข้างเป็นแนวขนานกับพื้นดิน ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีน้ำตาล ชุมเห็ดเทศเจริญเติบโตได้ดีในที่มีแดดมากแต่มีความชุ่มชื้นในดินสูงสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้นชุมเห็ดเทศเป็นต้นไม้ที่โตง่ายไม่จำเป็นต้องดูแลหรือเอาใจใส่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมักพบชุมเห็ดเทศปลูกอยู่ทั้งที่ราบหรือบนภูเขาสูงทั่วประเทศไทย การขยายพันธุ์ทำได้ง่ายด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

3

 

ชุมเห็ดเทศเป็นพืชที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ ดังต่อไปนี้

  1. ใบ ชุมเห็ดเทศมีใบคล้ายขนนก ก้านใบมีความยาวถึง 30-60 เซนติเมตรก้านใบหนึ่งจะแตกออกเป็นก้านใบย่อยสั้นๆ 2 ทาง ใบย่อยเรียงเป็นคู่ประมาณ 8-20 คู่ลักษณะของใบย่อยจะมีเนื้อใบค่อนข้างหนา ขอบใบเป็นสีแดงโคนใบมีรูปร่างโค้งมนกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-15 ซม.
  2. ดอกชุมเห็ดเทศออกดอกเป็นช่อในแนวตั้งช่อดอกยาวประมาณ 20-50เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองทองเรียงซ้อนเหลื่อมกันลักษณะเป็นรูปวงรียาว 2 เซนติเมตร ดอกตูมมีลักษณะคล้ายดอกข่า ในดอกของชุมเห็ดเทศจะมีเกสรเพศผู้ประมาณ 9-10 อัน ทั้งแบบสั้น และยาวส่วนเกสรตัวเมียมี 1 อัน
  3. ผลชุมเห็ดเทศมีผลเป็นฝักลักษณะแบนและยาว โดยตัวฝักยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตรกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงไม่มีขนลักษณะฝักเป็นสัน 4 สัน ฝักเแก่จะมีสีดำ ภายในฝักมีเมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีดำขนาดเล็กอยู่จำนวนมากประมาณ 50-60 เมล็ด

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ต้นใบ ดอก ฝัก เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ต้นใช้เป็นยารักษาโรคกลากเกลื้อน ช่วยขับพยาธิและขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก และทำให้การทำงานของหัวใจเป็นไปอย่างปกติ
  2. ใบชุมเห็ดเทศมีสรรพคุณอันโดดเด่นที่เป็นจุดขายในด้านการใช้เป็นยาถ่าย วิธีการรับประทานทำได้โดยการนำไปต้มน้ำเพื่อดื่มเป็นยาระบายบรรเทาอาการท้องผูก หรือบางคนอาจใช้ใบแห้งมาต้มดื่ม เพื่อแก้อาการหอบหืดหรือแก้ไข้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่ออมบ้วนปากได้ด้วย ใบชุมเห็ดเทศสามารถใช้รักษาโรคกลากเกลื้อน ช่วยฆ่าพยาธิตามผิวหนังหรือช่วยรักษาอาการผิวหนังอักเสบที่เป็นผื่นคันได้ วิธีการใช้ทำได้โดยการนำเอาใบสดมาขยี้แล้วนำมาขัดถูบริเวณผิวหนัง นอกเหนือจากการรักษาโรคเกลื้อนบนผิวหนังแล้วยังสามารถรักษาเชื้อราจากน้ำกัดเท้า ปัจจุบันใบชุมเห็ดเทศถูกผลิตมาค้าขายในเชิงการค้าในรูปแบบของยาชง และถูกบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อยาหลักแห่งชาติของประเทศไทย

5

ถิ่นกำเนิดของ :
ต้นชุมเห็ดเทศมีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศสหรัฐอเมริกาในโซนเขตร้อน

 





.