บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

ชะอม


ชื่อสมุนไพร : ชะอม
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักหละ (เหนือ), ฝ่าเซ้งดู่, พูซูเด๊าะ (กระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), โพซุยโดะ (กระเหรี่ยง กำแพงเพชร), อม (ใต้), ผ้กขา (อุดรธานี) และ ผักหล๊ะ(ไทยยอง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Acacia Pennata (L.)
ชื่อสามัญ : Acacia Pennata
วงศ์ :  MIMOSACEAE



 CO2

ชะอมเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมรับประทานในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกได้ทุกภูมิภาคและทุกฤดูกาล โดยยอดอ่อนและใบอ่อนจะสามารถออกได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่จะออกมากในช่วงฤดูฝน แต่ที่นิยมนำมารับประทานกันนั้นจะเป็นยอดชะอมในช่วงหน้าแล้ง ทั้งนี้เป็นเพราะผักชะอมในช่วงหน้าฝนจะค่อนข้างมีกลิ่นฉุนแถมยังมีรสชาติออกเปรี้ยว หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลทำให้ปวดท้องขึ้นมาได้ คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานเป็นผักจิ้ม คนภาคเหนือชอบรับประทานร่วมกับส้มตำ นอกจากนี้คนภาคอีสานมักนำไปต้มเป็นแกงอ่อม นอกเหนือจากความอร่อยแล้ว ร่างกายยังได้รับสารอาหารที่สำคัญซึ่งประกอบไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระจึงลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและโรคหัวใจ รวมทั้งแคลเซียมที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เหมาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงวัยทองที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะกระดูกพรุน อีกทั้งฟอสฟอรัสซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างกระดูก และยังมีวิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกด้วย ส่วนสรรพคุณทางยาของชะอมก็คือ ช่วยระบายความร้อนภายในร่างกายได้ดีทีเดียว แต่สำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรนั้นจะมีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรที่จะรับประทานเพราะจะทำให้ไม่มีน้ำนม และผู้ป่วยโรคเกาต์ ควรจะรับประทานในปริมาณที่จำกัด เนื่องจากมีสารพิวรีนในระดับสูงจึงมีผลต่อการสร้างกรดยูริกซึ่งเป็นตัวการเกิดโรคข้ออักเสบได้

CO5

ลักษณะสมุนไพร :
ชะอมเป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ยขนาดย่อม ลำต้นมีสีขาวมีหนามแหลมคมอยู่ทั่วไป กิ่งชะอมจะเลื้อยตามลำต้น ใบเป็นใบประกอบที่มีขนาดเล็กเป็นฝอย ก้านใบจะแยกออกมาเป็นใบอยู่ 2 ทางมีลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย  สำหรับใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นของลูกสะตอ ใบเป็นใบแบบเรียงสลับโดยใบย่อยออกตรงข้ามกันมีรูปทรงรีจำนวน 13-28 คู่ ขอบใบมีลักษณะเรียบและปลายใบแหลม ดอกชะอมจะมีสีขาวหรือสีขาวนวลขนาดเล็กซึ่งจะออกตามบริเวณซอกใบ และจะเห็นชัดเจนเฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นเส้นฝอยๆ ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

CO3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือก, ใบ และ ยอดอ่อน
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก รักษาอาการท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ และรักษาอาการปวดเสียว ในท้องได้ดี
  2. เปลือกเป็นยาขับพยาธิ เป็นยาขับลม
  3. ใบ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย
  4. ยอดอ่อน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย 

CO6

วิธีการใช้ :

  1. รักษาอาการท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ และรักษาอาการปวดเสียว ในท้อง นำรากสดมาฝนแล้วรับประทานกับน้ำ
  2. เป็นยาขับพยาธิ นำเปลือกชะอมมาผสมกับสะเดาและฟ้าทะลายโจร แล้วนำไปบดให้เข้ากัน รับประทานเป็นยาขับพยาธิ
  3. เป็นยาขับลม  นำเปลือกชะอม ต้มกับน้ำดื่มรับประทานเป็นยาขับลม
  4. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง นำใบมารับประทานสดๆหรือนำมาต้มกับน้ำ รับประทานน้ำต้มใบ
  5. ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย  นำใบชะอมประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย จนได้น้ำชะอมเข้มข้นกรองเอาแต่น้ำ เมื่อสระผมเสร็จให้นำมาผ้าขนหนูมาชุบน้ำชะอมที่เตรียมไว้ บิดพอหมาด นำมาเช็ดผมให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผมแห้งๆ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
  6. ช่วยลดความร้อนในร่างกาย นำยอดอ่อนมารับประทานสดๆ หรือใส่ในเมนูอาหารต่างๆ

CO4
ถิ่นกำเนิด :
ชะอมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้

 





.