บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

ขิง


1



ชื่อสุมนไพร : ขิง
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) และ เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber offcinale Roscoe
ชื่อสามัญ : Ginger
วงศ์ : Zingiber

2

(ภาพจาก http://www.khaosod.co.th)

ขิง ถือว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน และที่สำคัญตอนนี้กระแสของการดูแลสุขภาพ การหันมาทานอาหารที่มีสุขภาพก็กำลังมาแรง ดังนั้น เมื่อไปตามร้านขายยาสมุนไพร ก็จะเห็นขิงที่ถูกนำมาแปลรูปเป็นลักษณะต่างๆ เช่น ขิงผง ขิงที่บรรจุอยู่ในแคปซูล เป็นต้น และน้ำขิงยังถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆของรายการเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอีกด้วย ขิงยังไม่ได้ดัง หรือเป็นที่รู้จักแค่ในเมืองไทยเท่านั้น เนื่องด้วยสรรพคุณที่มีมากมายของขิง จึงทำให้ขิงขึ้นชื่อไปยังต่างประเทศอีกด้วย มีการนำขิงไปผลิตอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่ ในจีน อินเดีย บางภูมิภาคของญี่ปุ่น ไปจนถึงกรีก

3

(ภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/ขิง)

ลักษณะของสมุนไพร :
ขิง เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่ายมาก และสามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย
ลำต้นของขิง ขิงจัดอยู่ในพวกพืชล้มลุก ซึ่งมีหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า โดยเหง้าจะมีลักษณะเป็นหัวแฉกๆ คล้ายมือ เปลือกของเหง้าจะมีสีเหลืองอ่อน และเนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจะมีรสเผ็ด และกลิ่นหอม ถ้าขิงที่แก่มากก็จะมีรสที่เผ็ดมากขึ้นตามอายุของขิง เรียกได้ว่าขิงยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ความสูงของลำต้นของขิงที่อยู่บนดินนั้นจะสูงประมาณ 90 เซนติเมตร และมีลักษณะเป็นกอขิงเป็นพืชที่จัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง
ใบขิง ใบของขิงนั้น จะมีลักษณะเป็นกาบหุ้มซ้อนทักกันกัน ซึ่งเป็นใบเดี่ยวประกบคู่กันเป็นสองใบ และออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปทรงที่ปลายใบเรียวแหลม มีสีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้ม ความยาวของใบขิงประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร

4

(ภาพจาก http://www.nanagarden.com/ขิงแดง-106549-4.html)

ดอกขิง ดอกจะมีลักษณะออกเป็นช่อสวยงามอยู่บนยอดที่แยกออกมาจากลำต้น ดอกที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่มนั้นปลายดอกจะแหลม และมีสีขาว โดยดอกจะไม่มีใบที่ก้านดอก แต่จะมีเกล็ดอยู่รอบๆดอกโดยจะแซมออกมาตามเกล็ดนั้นๆ ซึ่งผลหรือเกล็ดนั้นจะมีลักษณะกลมและแข็ง
ขิง จัดว่าเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร ซึ่งจัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีในการตัดกลิ่นคาว หรือเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญนอกจากจะนำมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารแล้ว ขิงยังใช้เป็นตัวยายาสมุนไพรได้อีกด้วย

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เหง้าแก่สด ต้น

สรรพคุณทางยา :

  • ยาแก้อาเจียน วิธีใช้โดยการนำเหง้าสดไปย่างไฟให้สุก แล้วนำมาหั่นแล้วตำจนแหลก แล้วนำมาผสมกับน้ำปูนใส จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือนำน้ำเหง้าสดหมกไฟไว้ เมื่อมีอาการเบื่ออาหารให้น้ำออกมารับประทาน จะช่วยให้ไม่เบื่ออาหารได้
  • ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม วิธีการรับประทานโดยการนำเหง้าขิงแก่สดมาทุบให้แหลก แล้วชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมาแก่ 1 แง่ง แล้วล้างขิงให้สะอาจ จากนั้นน้ำมาต้มในน้ำเดือด แล้วใช้ดื่ม หรือถ้าต้องการรสชาติที่หวานลดความเผ็ดร้อนของขิง ก็สามารถเพิ่มน้ำตาลทรายลงไปได้
  • แก้ไอ ขับเสมหะ หรือบำรุงธาตุ วิธีทำ โดยนำเหง้าขิงแก่มาคั้นเอาน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย จากนั้นนำมาผสมกับน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา แล้วนำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ใช้ดื่มวันละประมาณ 3 ครั้ง หรืออาจจะใช้ใช้เหง้าขิงแก่สดมาฝนกับมะนาวจากนั้นเติมเกลือเล็กน้อย แล้วจิบบ่อยๆ
  • บรรเทาอาการปวดประจำเดือนทั้งในช่วงเป็นประจำเดือน หรือก่อนเป็นประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม มาต้มกับน้ำ จากนั้นนำมาดื่มบ่อยๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • แก้อาการท้องร่วง หรือท้องเสีย โดยการนำเอาขิงแห้งมาบด แล้วนำมาชงกับน้ำอุ่นๆ ใช้ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่ถูกน้ำร้อนลวก หรือที่เกิดจากไฟไหม้ โดยการนำเหง้าขิงแก่สดมาตำให้ละเอียด จากนั้นนำขิงสดที่ตำละเอียดแล้วนั้น มาพอกบริเวณที่เป็นแผล เพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่มาทุบให้ละเอียด แล้วนำมาคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม จากนั้นนำมาบทให้กลายเป็นผง แล้วพอกบริเวณที่ปวด วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  •  ขับลมเพื่อให้ฝายลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้เป็นนิ่ว ช่วยบำรุงไฟธาตุ ฆ่าพยาธิ แก้คอเปื่อย แก้ลมป่วง แก้โรคตา แก้บิด ช่วยย่อยอาหาร แก้อาเจียน แก้ท้องร่วงอย่างแรง โดยการนำลำต้นของขิงมาตำกับน้ำร้อน แล้วใช้ดื่ม เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

5

ถิ่นกำเนิดของขิง :
พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ทางประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และ ไทย

 





.