บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ขนุน


ชื่อสมุนไพร : ขนุน
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขะนู (ชอง-จันทบุรี), ขะเนอ (เขมร), ซีคึย, ปะหน่อย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), นะยวยซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), นากอ (มลายู-ปัตตานี), เนน (ชาวบน-นครราชสีมา), มะหนุน (ภาคเหนือ,ภาคใต้), ล้าง,ลาน (ฉาน-เหนือ), หมักหมี้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และ หมากกลาง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus  Lam.
ชื่อสามัญ : Jack fruit tree
วงศ์ MORACEAE



kn1

ต้นขนุนเป็นพืชที่นิยมปลูกกันตามบ้านเรือน เนื่องจากขนุนถือเป็นไม้มงคลที่ช่วยเกื้อหนุนให้ร่ำรวยและมีคนอุปถัมภ์ อีกทั้งขนุนยังเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันอย่างมาก เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานสดหรือใช้ทำขนมได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาส่วนต่างๆของต้นขนุนมาใช้เป็นยารักษาโรคได้มากมาย เช่น รักษาแผลมีหนอง รักษากามโรค ช่วยบำรุงกะลัง และขับน้ำนม เป็นต้น

ขนุนถือเป็นผลไม้ที่มีผลค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักต่อผลมีตั้งแต่ 5-50 กิโลกรัม เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม เริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 4 ปี และสามารถเก็บผลไปได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 25 ปี เจริญได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี

 kn5

ลักษณะสมุนไพร :

ขนุนเป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ สูงประมาณ 15 – 30 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาลแกมแดงเรื่อ เมื่อมีบาดแผลที่กิ่งจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียงสลับ ลักษณะรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร เนื้อใบหนา หูใบเล็ก ขอบเรียบ ปลายใบมนถึงแหลม โคนค่อนข้างสอบแคบและเป็นครีบเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเป็นมันแต่ผิวด้านล่างสากมือ เส้นใบมี 6-10 คู่ ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกสีเขียวสด แยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า “ส่า” มีจำนวนมาก ลักษณะเป็นกระบองแคบ ขนาดกว้าง 8-28 มม. ยาว 25-70 มม.กลีบรวมมีลักษณะคล้ายใบประดับ มักออกตามปลายกิ่ง เมื่อบานมีกลิ่นคล้ายน้ำตาลไหม้ ดอกเพศเมียมี 1-2 ช่อ ลักษณะทรงกระบอก แข็งและใหญ่กว่าดอกเพศเมีย ออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นบริเวณง่ามใบที่ต่ำที่สุด ยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ผลมีสีเขียวอมเหลือง ทรงรี ขนาดกว้าง 25-50 ซม. ยาว 30-100 ซม. ผิวเป็นตุ่มรูปกรวยปลายแหลมหรือมน เมื่อผลสุกจะมีกลิ่นหอม ผลย่อยแต่ละผลรวมอยู่ในกลีบสีเหลืองถึงสีส้มสด ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเมล็ดค่อนข้างกลม

ขนุนสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทย แต่จะเจริญได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี เริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 4 ปี และสามารถเก็บผลไปได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 25 ปี

 kn3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ยวง, เมล็ด, แก่นของขนุน, ส่าแห้งของขนุน และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ รสฝาดมัน ใช้รักษาหนองเรื้อรัง และแก้โรคหูน้ำหนวก
  2. ราก รสหวานอมขม ช่วยแก้อาการท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ บำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต
  3. แก่นและราก รสหวานอมขม บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท และแก้โรคลมชัก
  4. ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน ช่วยแก้แผลอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง รักษาโรคซิฟิลิส ขับพยาธิ และขับน้ำนม
  5. เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม ช่วยบำรุงกำลัง และบำรุงหัวใจ
  6. เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับหญิงหลังคลอดบุตร และช่วยบำรุงกำลัง

 kn4

วิธีการใช้ :

  1. ขับน้ำนมใช้เมล็ดประมาณ 60-240 กรัม ต้มจนสุก นำมารับประทาน
  2. บำรุงกำลัง ใช้เนื้อหุ้มเมล็ดสดผสมกับน้ำหวาน รับประทาน
  3. รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง ตำใบสดให้ละเอียดหรือบดใบแห้งให้เป็นผงโรยหรือทาตรงที่เป็นแผล หรืออาจใช้ยางสดทาบริเวณที่บวมอักเสบ
  4. รักษากามโรค ใช้แกนและรากแห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน
  5. รักษาอาการท้องเสีย นำผลอ่อนมาต้ม รับประทานเป็นเป็นผักจิ้ม

kn2

ถิ่นกำเนิด :
ขนุนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.